ผลการดำเนินงาน

  • การให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกเรื่องยาเสพติดและการดำเนินงานต้านยาเสพติด

๑).การจัดอบรมโครงการล้อมรั้ว รั้วครอบครัว เพื่อให้ครอบครับได้ใกล้ชิดดูแลบุตรหลานตนเองให้ห่างไกลปลอดภัยจากสิ่งเสพติด

๒).สิ่งเสริมการการออกกำลังกาย การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

๓).คัดแยกผู้ติดสารเสพติดเพื่อการเข้ารักษาบำบัดฟื้นฟู

๔).การรับรองครัวเรือนปลอดภัยดำเนินคัดแยกติดตามและให้การรับรองจนกว่าจะครบ

๕).กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดสม่ำเสมอ/ประชาสัมพันธ์บ่อย ๆ

๖).การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยการดำเนินการเป็นศูนย์เรียนรู้ และได้ให้เครือข่ายของตำบลนาบัว  จำนวน  ๑๕ หมู่บ้าน  ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการป้องกันและปราบปรามแก้ไขปัญหายาเสพติดหมู่บ้านตำบล

๗).การดำเนินงานกองทุนแม่ที่ผ่านมาได้ดำเนินการเป็นต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดินและเครือข่ายของอำเภอนครไทย         

  • การจัดตั้งกฎชุมชนเข้มแข็ง
  • คณะกรรมการประชุมร่วมกับสมาชิกและกำหนดระเบียบของชุมชน ดังนี้

๑) ห้ามยิงปืนในหมู่บ้านหลัง ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท

๒) ห้ามต่อท่อน้ำประปาเกิน 4 หุนในแต่ละครัวเรือน

๓) ห้ามจับปลาในเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาในฤดูวางไข่ฝ่าฝืนมีโทษปรับเงินตาม แต่เหตุการณ์

๔) ครัวเรือนใดไม่มาร่วมพัฒนาหมู่บ้านจะถูกปรับ ครัวเรือนละ 100 บาท

๕) ครัวเรือนใดให้ความร่วมมือในหมู่บ้านและเสียสละกับชุมชนจะได้พิจารณได้รับ

ของแจก จากหน่วยราชการ เช่น ผ้าห่ม ถุงยังชีพ ฯลฯ

๖) ห้ามเล่นการพนันในหมู่บ้าน

๗) ทุกครัวเรือนบริจาคข้าวเปลือกให้โรงเรียนบ้านนาไก่เขี่ย ครัวเรือนละ 2 ถัง

(ต้องเป็นข้าวใหม่)

๘) ห้ามทิ้งขยะในที่ของบุคคลอื่นและที่สาธารณะ

๙) ห้ามเปิดน้ำประปาหมู่บ้านเพื่อทำการเกษตร

  • การจัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติด

                        เงินทุนศรัทธาเมื่อ ปี ๒๕๕๖ จำนวน ๙,๗๘๘ บาท เป็นทุนที่เพิ่งเริ่มดำเนินการ และได้รับงบประมาณในการอบรมจากพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทยในรอบที่ผ่านมาเป็นค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๓,๐๐๐ บาท

  • การบริหารกองทุนแม่ของแผ่นดิน

                       การบริหารกองทุนแม่ของแผ่นดินโดยนำฝากเข้าบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรสาขานครไทย (ธกส.)  ชื่อบัญชีกองทุนป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดบ้านนาไก่เขี่ย หมู่๗ ตำบลนาบัว เลขบัญชี  ๖๓๐๐๓๓๐๖๑๓        เป็นเงิน ๙,๗๘๘  บาท

  • การบริหารจัดการดังนี้

๑). ให้สมาชิกครัวเรือนในชุมชนกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพ

๒). จัดสวัสดิการแก่สมาชิก

– ขวัญถุง

– ทุนการศึกษา

– การจัดเวรยาม

– การอบรมให้ความรู้

– การนำเข้ารับการบำบัดรักษา

– อื่น ๆ

  • ปัจจัยองค์ประกอบ และเงื่อนไขที่ทำให้หมู่บ้านประสบความสำเร็จ

*** ปัจจัยภายใน

๑). ผู้นำหมู่บ้านตื่นตัวต่อปัญหาในชุมชน

๒). ชุมชนมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวมีความพร้อม

๓). สมาชิกในชุมชนมีความศรัทธาผู้นำ และมีความพร้อมในการให้ความร่วมมือ

๔). ชุมชนเกิดการพึ่งพาตนเองและระเบิดปัญหาจากภายใน

*** ปัจจัยภายนอก

๑). ภาคราชการให้การสนับสนุนจริงจัง

๒). ภาคีการพัฒนาให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่ว่า  ตำรวจ  ปกครอง วัด

โรงเรียน อื่น ๆ

๓). ผู้นำธรรมชาติให้ความร่วมมือสนับสนุน เป็นแกนนำอย่างเข้าใจ

๔). สมาชิกเครือข่ายอื่นให้ความร่วมมือประสานการป้องปราม และแก้ไขปัญหา

เช่น เวร  ยาม  จุดตรวจ ข่าวสารต่าง ๆ

  • หัวใจสำคัญของการสร้างหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง

๑).ดำเนินการโดยใช้เวทีประชาคมของประชาชนในหมู่บ้านอย่างจริงจัง เช่น ตัวแทนครัวเรือนให้มากที่สุด

๒). ความสมัครใจของครัวเรือนสมาชิก

๓). ยึดหลักสันติวิธี หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง

๔). ดูแลกันเอง ให้โอกาส และมาตรการสังคม